MBTI คืออะไร? ทำได้แค่บ่งบอกรูปแบบบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย 4 ตัวอักษร?

By Ploy (Pajareeya) Suriwong

“เครื่องมือประเมินตนเองทุกประเภทเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการพัฒนาบุคลากรเท่านั้น”

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ได้ลองใช้เครื่องมือหลากหลายรูปแบบในการทำความรู้จักกับตัวเอง รวมทั้งเครื่องมือ MBTI บ่อยครั้ง การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้มาในรูปแบบของการกดลิงค์เข้าไปทำแบบประเมินหรือแบบทดสอบ ก่อนจะได้ผลประเมินออกมาเป็นตัวเลข ตัวอักษร โค้ดสี หรือคำอธิบายสั้นๆ ที่บ่งบอกว่าเราเป็นคนอย่างไร หากดีหน่อย ก็อาจได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ผ่านการเข้าร่วมเทรนนิ่งเพื่อทำความเข้าใจกับทฤษฎีเบื้องต้น ทำความรู้จักกับเครื่องมือประเมิน และความสามารถของมันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ สัก 1-2 วัน ตามที่ทางองค์กรจัดสรรมาให้ ความสนุกสนานที่ได้พูดคุยกับเพื่อนว่าเราเป็นคนแบบไหน ความหวังว่าทุกคนที่รู้จักความเป็นเราแล้วจะเข้าใจเรามากขึ้น ปรับตัวเข้าหาเรา และไม่ขัดแย้งกับเราอีก ช่างเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ แต่น่าเสียดาย ที่จุดเริ่มต้นนี้มักจะหยุดลงเพียงเท่านั้น ไม่มีการต่อยอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ชัดเจน

จะทำอย่างไร? หากลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรแต่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ 

อาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกือบทุกองค์กรเคยประสบพบเจอ การลงทุนให้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร แต่กลับไม่ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ เหตุเพราะ ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือประเมินเพียง 10-20% ของความสามารถของมันเท่านั้น บางองค์กร รู้สึกว่าการลงทุนกับแบบประเมินเพื่อการพัฒนาบุคลากรเป็นการขาดทุนเสียด้วยซ้ำ เพราะใช้ค่าใช้จ่ายไปไม่น้อยเลยทีเดียวกับการนำเครื่องมือมาใช้ในองค์กร มีการส่งคนไปเทรนและจ้างวิทยากรมาสอน แต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์เชิงธุรกิจที่ต้องการ กล่าวคือ ไม่ได้นำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มากขึ้นขององค์กร บุคลากรยังคงไร้ความสามารถในการทำงานร่วมกันและการมองเห็นเป้าหมายเดียวกันได้ตามความคาดหวังอีกด้วย เครื่องมือเหล่านี้ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่เอาไว้ใช้ให้ความหวังว่าทุกอย่างในองค์กรจะดีขึ้นในอนาคต (ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าเมื่อไหร่) และเพื่อความสนุกสนานชั่วคราวของผู้เข้าร่วมการประเมินเท่านั้น ดังนั้น การต่อยอดเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการลงทุนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เห็นผล และเครื่องมือที่นำมาใช้ จำเป็นต้องให้มากกว่าผลประเมิน กล่าวคือ ควรต้องให้แนวทางในการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

MBTI เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรมากที่สุด

แบบประเมิน MBTI เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเครื่องมือหนึ่ง วัตถุประสงค์ของการนำ MBTI มาใช้ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาบุคลากร แต่น้อยคนนัก ที่จะทราบว่า ทำแบบประเมินจนได้ไทป์ 4 ตัวอักษรของแบบประเมิน MBTI แล้ว เอาไปพัฒนาบุคลากรอย่างไรต่อ พัฒนาด้านใดได้บ้าง นอกจากช่วยให้คนทำแบบประเมินเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)

การตระหนักรู้ในตนเองนั้นเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งของการใช้เครื่องมือ MBTI

เราต้องเข้าใจก่อนว่าการตระหนักรู้ในตนเองนั้นเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งของการใช้เครื่องมือในการพัฒนาบุคลากร แต่เป็นเพียงความสำเร็จขั้นแรก เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น การจะพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง (Social-Awareness) สามารถบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิด และพฤติกรรมของตนเองได้ (Self-Management) และ มีทักษะในการเข้าสังคมที่ดีจากการมีความสามารถในการรักษาความสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ(อันจะนำไปสู่ประสิทธิผลและผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับองค์กร) ต้องใช้มากกว่าแค่ผลของแบบประเมิน MBTI กล่าวคือ ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ MBTI อย่างถูกวิธี ถูกเป้าประสงค์ เต็มศักยภาพของเครื่องมือ และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจได้ สำหรับฝ่ายบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้นำ หัวหน้างาน และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้บุกเบิกการใช้เครื่องมือ ควรต้องมีทักษะในการนำเครื่องมือไปจัดอบรม ทำการโค้ช ให้คำแนะนำ และรู้ว่าต้องติดตามและวัดผลอย่างไร และเหนือสิ่งอื่นใด ควรต้องมีความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจมาพลิกแพลงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ จนสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีและเติบโตไปพร้อมๆ กับสมาชิกทุกคนของทีม

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] หรือโทร 02 258 6930-35