วิธีใช้ MBTI เพื่อระบุความขัดแย้งในทีม

MBTI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจคนที่เราทำงานด้วยมากขึ้น เมื่อเรารู้หรือสามารถอ่านพฤติกรรมของคนที่เราทำงานด้วยออก

  • รู้ว่าเค้าชอบหรือไม่ชอบการเข้าหาแบบไหน (E หรือ I)
  • รู้ว่าเค้าต้องการข้อมูลลักษณะใด (S หรือ N)
  • รู้ว่าเค้าตัดสินใจแบบไหน (T หรือ F)
  • รู้ว่าเค้ารับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (F หรือ J)

เราก็สามารถปรับวิธีการสื่อสารและการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

แต่ๆๆๆๆ

เราไม่ได้มีเพื่อนร่วมงานคนเดียวนี่นะสิ ทีมเรามีตั้งหลายคน ต้องมาจำว่าใครเป็นแบบไหน หัวจะปวด คงจำและปรับกันไม่ไหวแน่ๆ MBTI จะช่วยวิเคราะห์ทีมของเรา ช่วยให้เราปรับเข้าหากัน ทำงานด้วยกันได้ดีขึ้น ลดความขัดแย้งในการ ทำงานได้มั้ยนะ

คำตอบคือ…ได้สิ

ประเภท MBTI ของทีมหรือ Team type สามารถหาได้หลายวิธี วิธีที่ทำได้เองง่ายๆ คือการนับ preference แต่ละแบบจากผล MBTI ของสมาชิกในทีม ดูตัวอย่างจาก A Team ทีมนี้ได้เลย

Case study MBTI type table

ตารางด้านล่างแสดง MBTI ของสมาชิกในทีมทั้งหมด 9 คน โดยแบ่งออกมาแต่ละคู่มีดังนี้

E (Extravert) 5 คน I (Introvert) 4 คน

S (Sensing) 3 คน N (Intuition) 6 คน

T (Thinking) 6 คน F (Feeling) 3 คน

J (Judging) 5 คน P (Perceiving) 4 คน

จะเห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของทีมเป็น E มากกว่า I, เป็น N มากกว่า S, เป็น T มากกว่า F, และเป็น J มากกว่า P

และเมื่อ majority ของทีมเป็นแบบไหน แนวโน้มของ team type ก็สามารถ assume ได้ว่าเป็นแบบนั้นดังนั้นทีมนี้จึงมี Team type เป็น ENTJ

ไม่ยากเลยใช่มั้ยในการหา Team Type ขั้นตอนต่อไปเราก็มาวิเคราะห์กันว่าทีม ENTJ เป็นยังไงกัน แล้วจะต้องทำยังไงบ้างให้ทีมนี้เป็นทีมที่เยี่ยมยอดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

โดยภาพรวมทีม ENTJ เป็นทีมที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างเด็ดขาดเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน โดยมักจะมองเห็นความเป็นไปได้และจัดวางตำแหน่งหน้าที่ของทุกคนให้สอดคล้องกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย

จุดแข็งของทีมนี้

  • ความเป็นผู้นำและการตัดสินใจที่เด็ดขาด
  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์
  • มุ่งเน้นผลลัพธ์
  • ความสามารถในการจัดการทีมและทรัพยากร
  • ความสามารถในการแก้ปัญหา
  • ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง

จุดอ่อนที่อาจมองข้าม

  • อาจละเลยความรู้สึกของคนอื่น
  • การขาดความยืดหยุ่น
  • ความต้องการควบคุมมากเกินไป
  • อาจมองข้ามรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
  • เร่งรีบตัดสินใจ
  • ความอดทนต่อความไม่แน่นอนค่อนข้างต่ำ

การสื่อสารภายในทีม

เน้นไปที่ความชัดเจน ตรงไปตรงมา มีเหตุผล และตัดสินใจรวดเร็ว เป็นทีมที่ทำงานเป็นระบบ

ถ้าต้องทำงานกับทีมนี้

ให้แสดงความสามารถในการทำงาน ให้การร่วมมือที่ดี มีความชัดเจนเรื่องเป้าหมายและตารางเวลา เตรียมรับคำถามจำนวนมากและคำวิจารณ์งาน และหลีกเลี่ยงการพูดถึงอารมณ์และความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของงาน

ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นทีมใดๆ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ  ขั้นตอนแรกในการแก้ไขความขัดแย้ง คือการระบุแหล่งที่มาที่เป็นไปได้ของความขัดแย้งนั้น ความตึงเครียดหรือความขัดแย้ง อาจเกิดได้ทั้งจากความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างของสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นระหว่างสมาชิกในทีม หรือกับบุคคลภายนอกทีม

แต่หากเราเข้าใจและจัดการอย่างเหมาะสม ความขัดแย้งนั้นก็อาจเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ได้ และยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้วิธีที่ผู้อื่นจัดการกับปัญหา ดังนั้นถ้าความขัดแย้งได้รับการแก้ไขอย่างดี ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะเปลี่ยนจากการทะเลาะเป็นการยอมรับและความเห็นพ้องต้องกันก็เป็นได้

แหล่งที่มาของความขัดแย้ง:

ความแตกต่างระหว่าง Extravert และ Introvert

  • Extravert มักจะต้องการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาและตัดสินใจโดยใช้ความคิดดังๆ พวกเค้าต้องการรู้ว่าทุกคนกำลังคิดอะไรอยู่ ความตึงเครียดอาจเกิดขึ้นได้ถ้าพวกเค้ารู้สึกว่า Introvert จงใจกักข้อมูลไว้
  • Introvert มักจะต้องการคิดทบทวนสิ่งต่างๆ ก่อนที่จะพูดออกไป พวกเค้าต้องการแน่ใจว่าตนเองยืนอยู่ตรงไหนก่อนที่จะประกาศการตัดสินใจ พวกเค้าอาจรู้สึกว่าถูกรบกวนตลอดเวลาและไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากต้องถูกเรียกประชุมหรือสนทนากับ Extravert อยู่เสมอ

ความแตกต่างระหว่าง Sensing และ Intuition  

  • Sensing มักจะต้องการยึดมั่นกับข้อเท็จจริงและตัดสินใจโดยอิงจากประสบการณ์ที่ได้ผลในอดีต พวกเค้าอาจเชื่อว่าแนวคิดส่วนใหญ่จาก Intuition ไม่สมจริงและไม่คุ้มที่จะเสียเวลาไปกับมัน
  • Intuition มักจะต้องการหาโอกาส ความเป็นไปได้ใหม่ๆ และแสวงหาโอกาสเหล่านั้นด้วยความกระตือรือร้น พวกเขาอาจรู้สึกว่า Sensing จะล้มเลิกแนวคิดและแรงจูงใจของพวกเค้า ก่อนที่จะให้โอกาสนั้นซะอีก

ความแตกต่างระหว่าง Thinking และ Feeling 

  • Thinking ต้องการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยอิงตามหลักการที่สมเหตุสมผลและตกลงกันไว้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน พวกเค้าอาจเชื่อว่า Feeling เลือกปฏิบัติหรือหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ยากลำบาก
  • Feeling ตัดสินใจโดยอิงตามคุณค่า พิจารณาจากสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเค้าหรือผู้อื่น พวกเค้าอาจมองว่าคนที่มีความคิดเป็นคนเย็นชาหรือไม่ใส่ใจ

ความแตกต่างระหว่าง Judging และ Perceiving

  • Judging ต้องการตัดสินใจ จัดระเบียบ และกำหนดตารางงานทันที พวกเค้าชอบวางแผนงานและทำงานตามแผน พวกเค้าอาจมองว่า Perceiving เป็นคนโลเล ไม่เด็ดขาด และไม่มีระเบียบ
  • Perceiving ชอบทำงานตามจังหวะของตัวเอง ซึ่งบางครั้งหมายถึงการทำงานแบบเร่งรีบในนาทีสุดท้าย พวกเค้าชอบชะลอการตัดสินใจเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด พวกเขาอาจมองว่า Judging เป็นคนชอบควบคุม

Team type ทำให้ A Team รู้ข้อดีข้อเสียและที่มาของความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ และทำให้ทีมนี้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังตัวอย่างการนำไปใช้ต่อไปนี้

  • พูดคุยเกี่ยวกับประเภทของสมาชิกแต่ละคนในทีม และคุยถึงจุดแข็งของแต่ละประเภทว่าจะช่วยทีมได้อย่างไร
  • พยายามหลีกเลี่ยงการสร้างกลุ่มย่อยที่ประกอบด้วยผู้ที่มีประเภทที่คล้ายกัน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีความหลากหลายของประเภทในกลุ่มย่อยทั้งหมด
  • ให้สมาชิกในทีมที่มีประเภทตรงข้ามกับ Team type ในที่นี้อาจเป็น ISTP ช่วยตรวจสอบการตัดสินใจหรือผลงานของทีมก่อนที่จะปล่อยหรือสื่อสารออกไป
  • ลองระดมความคิดเพื่อหาทางออกทีละคนก่อนที่จะมารวมกันเป็นทีม
  • หาสมาชิกในทีมที่มีทักษะเฉพาะในการหาข้อตกลงร่วม ให้เป็นผู้ดำเนินการประชุม หากไม่มีสมาชิกในทีมคนใดเต็มใจที่จะรับบทบาทนี้ ให้พิจารณาใช้ผู้ดำเนินการประชุมจากภายนอกทีม

เราเห็นภาพ Team type ของ A Team กันแล้ว รู้จุดแข็ง จุดอ่อน และความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น และรู้การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้แล้ว เชื่อว่าถ้าทีมนี้ได้เอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ A team ต้องเป็นทีมที่มีการทำงานที่โดดเด่นมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่ๆ

ตอนนี้ขอชวนมาดูจุดแข็งจุดอ่อนของ Team type อื่นๆกันบ้าง ทีมไหนเป็นเป็นแบบไหนมาดูกันเลย

Team Type MBTI แต่ละทีมเป็นแบบไหนกันบ้าง

ISTJ

จุดแข็ง: มีความรับผิดชอบ, เป็นระบบ, เชื่อถือได้

จุดอ่อน: ยืดหยุ่นน้อย, ไม่ชอบความไม่แน่นอน, ขาดความคิดสร้างสรรค์

ISFJ

จุดแข็ง: มีความเห็นอกเห็นใจ, ใส่ใจรายละเอียด, ให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบ

จุดอ่อน: ปรับตัวยากต่อการเปลี่ยนแปลง, หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง, อาจทำงานหนักเกินไป

INFJ

จุดแข็ง: วิสัยทัศน์กว้างไกล, ใส่ใจผู้อื่น, เข้าใจลึกซึ้ง

จุดอ่อน: อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์,อาจเสียพลังงานกับปัญหาผู้อื่น, ตัดสินใจช้า

INTJ

จุดแข็ง: คิดเชิงกลยุทธ์, มีเป้าหมายชัดเจน, ควบคุมตนเอง

จุดอ่อน: อาจดูเย็นชา, มีความคาดหวังสูง, ยืดหยุ่นยากในบางครั้ง

ISTP

จุดแข็ง: แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง, ปฏิบัติการได้ดี, ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง

จุดอ่อน: ไม่ชอบกฎเกณฑ์, หลีกเลี่ยงการวางแผนระยะยาว, ขาดความใส่ใจในรายละเอียด

ISFP

จุดแข็ง: มีความยืดหยุ่น, คิดสร้างสรรค์, ใส่ใจในความรู้สึกของคนรอบข้าง

จุดอ่อน: ไม่ชอบการเผชิญหน้า, ไม่จัดการงานให้เสร็จตามเป้าหมาย, มีแนวโน้มทำงานเป็นระยะสั้น

INFP

จุดแข็ง: มีอุดมการณ์, มองโลกในแง่ดี, มีความเห็นอกเห็นใจ

จุดอ่อน: ตัดสินใจยาก, หลีกเลี่ยงงานที่มีรายละเอียด, อาจไม่มั่นคงในความรู้สึก

INTP

จุดแข็ง: วิเคราะห์เชิงลึก, แก้ปัญหาเก่ง, ชอบค้นคว้า

จุดอ่อน: ไม่ค่อยมีระเบียบ, ขาดทักษะการสื่อสาร, หลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ESTP

จุดแข็ง: ลงมือทำรวดเร็ว, กล้าเสี่ยง, ปรับตัวเก่ง

จุดอ่อน: ขาดการวางแผนระยะยาว,ชอบทำตามใจตนเอง, ขาดความอดทน

ESFP

จุดแข็ง: มีพลังงานสูง, เข้ากับคนง่าย, ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดี

จุดอ่อน: ไม่มีระบบ, ทำงานระยะยาวยาก, หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่ยาก

ENFP

จุดแข็ง: มีความคิดสร้างสรรค์, มองโลกในแง่บวก, มีแรงบันดาลใจ

จุดอ่อน: ไม่ค่อยอยู่กับงานที่ต้องทำ, ขาดการวางแผนที่ชัดเจน, ตัดสินใจช้า

ENTP

จุดแข็ง: มีความคิดริเริ่ม, ชอบการแก้ปัญหา, ชอบความท้าทาย

จุดอ่อน: ขาดความอดทน, หลีกเลี่ยงงานประจำ, โฟกัสกับหลายสิ่งมากเกินไป

ESTJ

จุดแข็ง: มีความเป็นผู้นำ, จัดการงานได้ดี, มุ่งเน้นเป้าหมาย

จุดอ่อน: เผด็จการ, ยืดหยุ่นน้อย, ขาดความอดทนต่อความผิดพลาด

ESFJ

จุดแข็ง: มีความรับผิดชอบต่อสังคม, ใส่ใจผู้อื่น, ประสานงานเก่ง

จุดอ่อน: ไวต่อคำวิจารณ์, หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง, ยึดติดกับกฎระเบียบ

ENFJ

จุดแข็ง: สื่อสารเก่ง, มีความเข้าใจผู้อื่น, มีความเป็นผู้นำที่อบอุ่น

จุดอ่อน: ใส่ใจคนอื่นมากเกินไป, ยากต่อการตัดสินใจที่เจ็บปวด, รับภาระมากเกินไป

ENTJ

จุดแข็ง: เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง, มุ่งเน้นผลลัพธ์, จัดการงานมีประสิทธิภาพ

จุดอ่อน: เผด็จการ, ตัดสินใจเร็วเกินไป, ขาดความละเอียดอ่อนทางอารมณ์

สรุป

ได้ข้อมูลคร่าวๆ กันทั้ง 16 type แล้ว ใครอยากรู้เพิ่มเติม ลองทำ Team type ของทีมตัวเองดูได้ตามคำแนะนำด้านบนได้เลย ส่วนทีมไหนอยากได้รายละเอียดดีๆไว้พัฒนาทีมเหมือน A Team ก็ติดตามบทความดีๆของเราต่อไป หรือติดต่อกับทาง MBTI เพื่อขอคำแนะนำ report แบบพร้อมใช้งานได้เลย

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] หรือโทร 02 258 6930-35